นับเป็นเวทีครั้งที่สามแล้วที่วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ร่วมกับเทศบาลตำบลผึ่งแดด แกนนำชุมชน และโดยเฉพาะบุคคลากรของเทศบาลตำบลผึ่งแดด ที่มีความมุ่งมั่นและความพยายามที่จะเกิดการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ให้เกิดขึ้นให้ได้
กระบวนการที่สำคัญคือ
๑. การสร้างความเข้าใจถึงเป้าหมายการดำเนินการระหว่างผู้เกี่ยวข้อง อันได้แก่ แกนนำผู้สูงอายุ บุคลากรของเทศบาล บุคลาการของวิทยาลัยชุมชน และภาคีที่เกี่ยวข้องที่สำคัญได้แก่ พมจ. รพ.สต. เป็นต้น เป็นกระบวนการสำคัญที่แต่ละภาคส่วนนำเสนอบทบาทหน้าที่และปัจจัยสนับสนุนแก่ชุมชน เพื่อร่วมเป็นพลังสนับสนุน โน้มน้าวให้กลุ่มเป้าหมาย(ผู้สูงอายุ) เห็นความสำคัญและตระหนักถึงความจำเป็น และสุดท้ายเป็นปัจจัยการตัดสินใจเพื่อร่วมดำเนินกิจกรรม
๒. ค้นหาแกนนำ ในการดำเนินการในแต่ละพื้นที่ สิ่งที่จำเป็นสูงสุด ที่นำมาซึ่งความยั่งยืน และการจัดการตนเอง เพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน คือ การค้นหาแกนนำ ที่จะเป็นกลไกเบื้องต้นเพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินการกิจกรรม แกนนำจะเป็นปัจจัยเบื้องต้น เป็นพลังตัวนำเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในพื้นที่ตำบลผึ่งแดด แกนนำคนสำคัญ แกนนำของกลุ่มเป้าหมาย(ผู้สูงอายุ) เป็นข้าราชการครูที่เกษียณอายุมาแล้ว แต่มีจิตอาสา อยากเห็นการพัฒนาเพื่อการดูแลผู้สุงอายุ (อาจารย์นริศรา มาลาดวง) นอกจากนั้น แต่ละหมู่บ้านทั้ง ๑๓ หมู่บ้าน ก็มีแกนนำในแต่ละหมู่บ้าน
๓. การค้นหาทุนที่มีคัณค่าของชุมชน/คุณค่าในตัวของผู้สูงอายุ เป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะมาซึ่งขอมูลที่ชุมชนมุกมองข้าม เพรานสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว จนไม่นึกว่าจะมีความสำคัญ เป็นขั้นตอนของการเรียนรู้ตนเองและชุมชนของตนเองในภาพที่กว้างขึ้น คือการได้รับทราบข้อมูลในระดับตำบล เพื่อนผู้ร่วมกิขกรรมจากบ้านอื่นๆ ก็จะเกิดมุมมองที่กว้างมากขึ้น จากการนำนพลังที่เด่นชัดมากขึ้น จนมำไปสู่การตระหนักถึงการรวมตัวกัน เป็นกระบวนการที่ผู้ดำเนินการจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้ชุมชน/กลุ่มเป้าหมายมีเวลาในการสะท้องออกม่ด้วยตัวเอง ไม่ชี้นำ แกนนำ/ผู้ร่วมดำเนินการ ทำหน้าที่เพียง "ผู้อำนวยความสะดวก" ที่จะก่อให้เกิดการออกความเห็นหรือการให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา
ผู้สูงอายุ ด้วยประสบการณ์ที่ชีวิตที่ผ่านมาอย่างยาวนาน แต่ละคนก็จะมีความรู้ทักษะสำหรับการดำเนินชีวิตอยู่แล้ว เป็นช่วงเวลาของการแสดงออกมาให้บุคคลได้รู้ ได้เห็นและรับรู้ ซึ่งจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ และเกิดการมีส่วนร่วมกับคนอื่นๆ และประการสำคัญ ในท้ายที่สุด แต่ละคนก็จะพบว่าตนเองก็มีความสำคัญสำหรับคนอื่นๆเพื่อการทำงานร่วมกันแบบมีส่วนร่วม
๔. การสร้างกลไกการทำงาน คือ การกำหนดเครื่องมือในการทำงาน กลไกเพื่อการขับเคลื่อนที่มีความชัดเจน และเกิดจาการการมีส่วนร่วม และความเห็นพ้องต้องกันของคนส่วยใหญ่
กลไกสำหรับการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ มีสิ่งที่จะต้องเป็นมติร่วมของผูสูงอายุ คือ การมีส่วนร่วมในการกำหนดการดำเนินการของโรงเรัยน ตั้งแต่การตั้งชื่อโรงรียน การคัดเลือก/แต่งตั้งผู้บริหาร (ผู้อำนวยการโรงเรัยน) การกำหนดเวลาเรียน สถานที่เรียน การแต่งกาย การกำหนดกิกจรรมการเรียน
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่ง สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลผึ่งแดด โดนเฉพาะสถานที่เรียน ที่จะเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุ สำหรับทำกิจกรรมร่วมกันในแต่ละครั้ง มติที่ประชุมของผู้สูงอายุ เห็นพ้องต้องกันว่า จะใช้ "วัด" เป็นสถานที่เรียน และเป็นวัดของแต่ละหมู่บ้าน ในแต่ละครั้งก็จะหมุนเวียนกันไปตามหมู่บ้านของทุกหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุในแต่ละหมู่บ้าน และมีโอกาสที่จะได้เดินทางไปเยี่ยมหรือร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุในทุกๆหมู่บ้าน ซึ่งย่อมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างแน่นอน โดยมีเทศบาลตำบลผึ่งแดด จะเป๋นผู้จัดการและสนับสนุน
นับเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุล่าสุดของจังหวัดมุกดาหาร(๒๑ ะันวาคม ๒๕๖๐) ในชื่อ "โรงเรียนโฮมบุญผู้สูงอายุตำบลผึ่งแดด" ซึ่งจากชื่อที่ตั้ง บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์หลักและความสำคัญของกิขกรรมของผู้สูงอายุในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยมีเป้าหมายคือ คือ การทำบุญร่มกัยของผู้สูงอายุ และประชาชนในตำบลผึ่งแดด กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ถือว่า เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิด "บูญ" กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นการดำเนินกิจกรรมสำหรับบุคคลที่มีบุญคุณต่อทุกคน เป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณที่เป็นรูปธรรม และดำเนินการในนามของุชุมชน เป็นประโยชน์ของสาธารณะที่ควรค่าแก่การยกย่องชมเชย
No comments:
Post a Comment