Thursday, December 7, 2017

ต้นทุนเพื่อการพัฒนาตำบลผึ่งแดด (ด้านการสืบสานศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น)

กิจกรรมเริ่มต้นสำหรับการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุตำบลผึ่งแดดการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมสำคัญกิจกรรมหนหนึ่งของวิทยาลัยชุมชน ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน "ตำบลผึ่งแดด เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองมุกดาหาร จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และศักยภาพของเทศบาลตำบลผึ่งแดด จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) เทศบาลไว้ ๓ ประเด็น คือ การบริหารจัดการที่ดีให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และ การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป"

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้กำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเน้นประเด็นการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ และได้เริ่มศึกษาบริบทของชุมชนก่อนการดำเนินงานโครงการตามกระบวนการ/ขั้นตอนที่กำหนดไว้ กรอบแนวคิดด้านการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรม เป็นการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ผ่านการอนุรกษ์ ฟื้นฟู สืบทอด พัฒนามรดกทางวัฒนธรรม ทั้งทางด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างจิตสำนึกรัก หวงแหน และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยว เป็นการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดวให้คงอยู่สืบไป
ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเป้าหมายและมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาต่างๆ ที่เป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญที่สุด โดยเฉพาะความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ และโครงการพัฒนาบุคคลตามช่วงวัย ผู้สูงอายุ จึงได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในทุกๆด้าน ซึ่งบทเรียนของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ที่ได้ดำเนินการผ่านมา คือ การสร้างกลไกทางสังคมเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ในลักษณะของการจัดตั้ง "โรงเรียนผู้สูงอายุ" "วิทยาลัย ฒ ผู้เฒ่า" เป็นต้น นับเป็นบทเรียนที่สำคัญ ต่อการดำเนินงาน ทำให้เห็นข้อจำกัด แบะแนวทางที่เหมาะ จากบทเรียนของการทำงานกับชุมชนในเรื่อง "ผู้สูงอายุ" พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุ มีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ โดยสภาพร่างกายจำเป็นต้องอาศัยผู้อื่นที่จะต้องเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุน โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้กำลังทางกาย แต่ผู้สูงอายุ คือ กลุ่มบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์อย่างเหลือล้น สามารถที่จะนำเอาความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้สูงอายุ มาจัดกาให้เกิดพลัง สร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่าอย่างดี ซึ่งจำเป็นต้องมีผู้ช่วยเหลือ ทั้งนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายอื่นๆที่อยู่ใกล้ชิด เป็นต้นว่า กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน กลุ่มแกนนำหรือผู้นำชุมชน ที่มีความพร้อม
ทุนทางสังคม (Social Capital) มีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยิ่ง ดังนั้น การใช้ทุนที่มีอยู่เพื่อการพัฒนาชุมชนนั้น ย่อมก็ให่เกิดความประหยัด ไม่เกิดความรู้แปลกแยกของคนในชุมชนจากทุนจากภายนอกที่ถุกนำเข้ามา ที่ไม่มีความคุ้นเคย (อาจเกิดการปฏิเสธจากคนในชุมชนได้) แต่ถ้าเป็นทุนภายในชุมชนเองก็จะเกิดความภาคภูมิในสิ่งที่มีคุณค่าที่ประชาชนส่วนใหญไม่เคยรู้จักมาก่อน การ้รหาทุนในชุมชนจึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรกที่นักพัฒนาควรศึกษาให้เข้าใจ เก็บรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้


















No comments:

Post a Comment