วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สถาบันอุดมศึกษา สังกัดสถาบันวิทยาลัยชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถาบันการศึกษาที่มีรูปแบบแตกต่างจากสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาโดยทั่วไป คือ วิทยาลัยชุมชน เป็นของชุมชน จัดการโดยชุมชน และเพื่อชุมชนโดยแท้จริง เพราะหลักสูตรที่ดำเนินการ ต้องมาจากความต้องการและปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง
ด้วยภารกิจและบทบาทหน้าที่จัดการศึกษาเพื่อชุมชน เป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสู่เป้าหมายสุดท้าย คือ การจัดการตนเองของชุมชนในทุกปัญหาและความต้องการ
ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสรัางความเข้มแข็งชุมชน ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร กิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง คือ การจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูอายุ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาทางสังคมของประเทศไทย คือ ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่วาจะเป็นเขตเมืองหรือชนบท ภาระดังกล่าว เป็นประเด็นปัญหาที่จะต้องกาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนร่วมมือการดำเนินการ โดยมีรูปแบบที่มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความเป็นไปได้ของพื้นที่ที่จะดำเนินการ (ภูมิสังคม)
การจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้ศุงอายุ ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เริ่มต้นด้วยการดำเนินกิจกรรม บนพื้นฐานของชื่อโครงการที่ว่า..."ฒ. ไม่เฒ่า" เป็นการสร้างกลไกเพื่อการจัดการปัญหาของผู้สูงอายุ ทั้งปัญหาทางด้านสุขภาพและด้านจอตใจของผู้สูงอายุ เป็นการให้ความสำคัญและแนวคิดด้านการพัฒนาที่สำคัญ คือ ทุกปัญหา ชุมชนสามารถดำเนินการ/จัดการเองได้ หากให้โอกาส และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินงานพัฒนาชุมชน องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การสร้างกลไกเพื่อการดำเนินงานให้สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาได้ กลไกดังกล่าว ต้องเป็นกลไกของประชาชนเป็นหลัก บนพื้นฐานของข้อมูล ข้อเท็จริง ที่ชุมชนเป็นเจ้าของรับรู้ รับทราบและเข้าใจ กลไกดังกล่าว เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับหลักการทรงงานในหลวงรัชกาลที่ ๙ กล่าวคือ การดำเนินงานพัฒนาต้อง "ระเบิดจากข้างใน" ความหมายคือ การดำเนินกิจกรรมการพัฒนาชุมชน ต้องเกิดจากความต้องการและดำเนินการโดยคนในชุมชนเป็นสำคัญ ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ก็ยึดหลักดังกล่าว
ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของการดำเนินการเพื่อการพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาของสังคม เป็นปัญหาที่ที่เกิดจากตัวผู้สูงอายุเอง คือปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพกายใจของผู้สูงอายุ ที่นับวันจะมีมากขึ้น อันเนื่องมาจากสภาพร่างกายทีีทรุดโทรงตามกาลเวลาของอายุไขทีมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้สูงอายุ เป็นปัญหาทางสังคม ที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมแก้ไขปัญหา หรือร่วมดำเนินการ เพื่อบรรเทาภาระทางสังคม ที่นับวันจะมีมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่นๆของสังคมหรือชุมชน นั่นคือ ภาระการดูแล การเลี้ยงดู และปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น เพื่อการการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุเป็นระบบ จำเป็นต้องสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุ ให้มีความชัดเจน เพื่อการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ และควรจะเป็นระบบที่ดำเนินการโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นหลักการสำคัญ
(๑) ระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้สุงอายุ จำเป็นต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วยเพื่อการวางแผนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาวางแผนในการดูแลผู้สุงอายุได้ในทุกมิติ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลด้านสถานการณ์ของผู้สูงอายุด้านความพิการ เช่น จำนวนผู้สูงอายุที่มีความพิการด้านการมองเห็น การได้ยิน/การสื่อความหมาย ด้านการเคลื่อไหวร่างกาย/พฤติกรรม ความพิการด้านจิตใจ ความพิการด้านสติปัญญา เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติการด้านกายอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุในโอกาสต่อไป และจะบ่งชี้ไปยังหน่วยงาน/องค์กรที่รับผิดชอบได้อย่างชัดเจน เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ท้องถิ่น(อบต./เทศบาล) เป็นต้น
(๒) การจัดระบบบริการสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ จะมี ๒ ลักษณะสำคัญ คือ ดำเนินการโดยชุมชนเอง และดำเนินการโดยหน่วยบริการ ตัวอย่างกิจกรรมที่ดำเนินการโดยชุมชนเอง เช่น กลุ่มกิจกรรมด้านดนตรี/วัฒนธรรม(การแสดง การถ่ายทอดภูมิปัญญา) ชมรมผู้สูงอายุ/กลุ่มผู้สูงอายุ(การถ่ายทอด ภูมิปัญญาแก่เด็ก/เยาวชน การออกกำลังการ เข้าวัดฟังธรรม เพื่อนช่วยเพื่อน การพบละแลกเปลี่ยน) กลุ่ม อผส.(อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ มีกิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น บริการออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ) และกิจกรรมบริการและส่งเสริมสุขภาพโดยหน่วยบริการ เช่น กลุ่มนวดแผนไทย กลุ่มสมุนไพร กลุ่ม อสม. รพ.สต.ในพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน เป็นต้น
(๓) ระบบส่งเสริมอาชีพและลดรายจ่าย เป็นการดำเนินกิจกรรม เพื่อที่จะให้ผู้สูงอายุมีรายได้ หรือการลดรายจ่าย สำหรับตนเองและครอบครัว กิจกรรมที่พบเห็นในชุมชนบ่อยๆ ได้แก่ กลุ่ทอาชีพด้านต่างๆ กลุ่มกิจกรรมด้านอาชีพ จะมีแหล่งทุนที่มีอยู่แล้วในชุมชน แหล่งทุนต่างๆในชุมชนได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน (การลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ) สถาบันการเงินของชุนเอง (แหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต(การออมและการกู้ยืมเพื่อการลงทุน) โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(สนับสนุนเงินทุนสำหรับยืมไปประกอบอาชีพโดยไม่มีดอกเบี้ย) กลุ่มการเงินขนาดเล็ก (ให้กู้เงินเพื่อใช้เป็นทุนแก่สมาชิก) สำหรับกิจกรรมเพื่อการลดรายจ่าย เช่น ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร การจัดทำบัญชีครัวเรือน เป็นต้น
(๔) ระบบการจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งจะมีทั้งกิจกรรมที่เป็นของชุมชนและหน่วยงาน/องค์กร เช่น อบต./เทศบาบ(บริการเบี้ยยังชีพ พัฒนาระบบข้อมูลผู้สูงอายุ กำหนดพื้นที่การให้บริการผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง) กลุ่มฌาปานกิจสงเคราะห์ (ช่วยเหลือการจัดการศพ)
(๕) ระบบการปรับสภาพแวดล้อม ในชุมชนทุกชุมชน มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวนมากกว่า ๑๐ คน(จำนวนขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรและจำนวนหลังคาเรือนในหมู่บ้าน จะเป็นผู้ดูแลกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุท่อยู่ในสภาพติดเตียง ติดบ้านหรือติดสังคมและโดยเฉพาะเข้าไปดูแลและดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ บทบาทขององค์กรชุมชน/คณะกรรมการหมู่บ้าน ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทราบถึงงานและกิจกรรมในพื้นที่ นอกจากนั้นอาจมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุรภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุ โดยทำหน้าที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการพัฒนาอาชีพและการถ่ายทอดภูมิปัญญา และดำเนินกิจกรรมอ่นๆที่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ
ดังนั้นการดำเนินการจัดตั้งกลไกเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ผ่านกระบวนการจัดตั้ง"โรงเรียน" หรือองค์กรที่อื่นๆอื่นๆ ตามที่ชุมชนร่วมกันดำเนินการ โดยมีวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน โดยเฉพาะด้านวิชาการ ย่อมเป็นการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ที่กำลังเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญต่อการดำเนินงานของภาคีการพัฒนาหลายๆส่วนที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่อย่างไร ประเด็นสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุ หน่วยงาน/องค์กรที่มีความสำคัญสูงสุดคือ "องค์กรปกครองท้องถิ่น" ที่มีภาระหน้าที่โดยตรง โดยมีหน่วยงานต่างๆ ให้การสนับสนุนอย่างบูรณาการ
No comments:
Post a Comment