"กลอง" เป็นวัฒนธรรมของชุมชนพื้นบ้าน ที่ใช้ในหลายวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน แต่ที่เห็นชัดเจนและเข้าใจกันโดยทั่วไป คือ กลองเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ตีแล้วให้เสียงดัง และเป็นการนำเสียงของกลองมาใช้เพื่อประโยชน์ของการอยู่ร่วมกันของชุมชน จึงได้พบว่า กลองได้ถูกใช้เป็นสัญญาณบอกเหตุส่งข่าวเวลามีเรื่องอะไรเกิดขึ้น ตีสั้นตียาวเหมือนสัญญาณนกหวีดหรือสัญญาณควัน การแข่งจะแข่งความดังและส่งสัญญาณได้ดีกว่า ภาคอีสานเรียกว่าการเส็งกลอง (ข้อมูลเพิ่มเติมอิื่นๆ)
การเส็งกลองจิ่ง เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของประชาชนในจังหวัดมุกดาหารในหลายพื้นที่ เกือบทุกอำเภอ ที่มีการถือปฏิบัติมาอย่างยาวนาน จนถือไ้ว่าเป็นวิถีวัฒนธรรมชุมชน สำหรับกลองกิ่ง หรือกลองจิ่ง ตามคำบอกเล่าที่เล่าสืบต่อกันมา แหล่งกำเนิดเริ่มต้นเดิมนั้น เกิดขึ้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ เมืองอัตปือ เมืองพวน เมืองสาละวัน สำหรับจังหวัดมุกดาหาร มีราษฎรส่วนใหญ่ในอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นชาวไทย เผ่ากะเลิง ซึ่งได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง โดยมีราชบุตรโคตร นำพาราษฎรมาตั้งถิ่นฐานชื่อว่า หัวดอนตาล (เกาะดอนตาล) และปลูกสร้างที่อยู่อาศัย และตั้งชื่อชุมชนว่า บ้านหัวดอนตาล ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น บ้านดอนตาล วัฒนธรรมการแข่งขันกลองกิ่ง จึงได้นำมาแพร่หลายในอำเภอดอนตาล (ตามคำบอกเล่าของนายเฮือง จันทพันธ์ อายุ 85 ปี ให้ข้อมูลเมื่อปี 2550)
ในปี ๒๕๖๑ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้ดำเนินการโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ภายใต้้กิจกรรม "สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า" โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การเผยแพร่และสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของภูมิปัญญาของชุมชน ผ่านการจัดการแข่งขันกลองจิ่งขึ้นในงานกาชาดและงานของดีจังหวัดมุกดาหาร ประจำปี ๒๕๖๑ โดยมีคุณตาสุริจิตต์ จันทรสาขา ประธานสภาวัฒนธรรมของจังหวัดมุกดาหาร ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจคือ ...
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร ได้ให้ข้อมูลถึงความเป็นมาของ "กลอง" ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชุมชน และความเป็นมาของการเส็งกลองในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งมีหลักการสำคัญของการแข่งขัน คือ ความดังของเสียงกลอง(ความนุ่มนวล จังหวะการตี) การแต่งกาย ท่าท่างประกอบการตี เป็นต้น) และประการสำคัญคือ การเส็งกลองจิ่งของจังหวัดมุกดาหาร มีเพียงจังหวัดเดียวที่มีการแข่งขันจนถึงปัจจุบันนี้ ถือได้ว่า เป็นวิถีวัฒนธรรมที่ยังคงมีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ จังหวัดโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร ได้เสนอให้กิจกรรมการ "เส็งกลองจิ่ง" เป็น "มรดกทางวัฒนธรรม" ของจังหวัดมุกดาหาร
จาการดำเนินงานตามโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร การศึกษาบริบทของชุมชนก่อนการดำเนินงานโครงการในแต่ละปี และที่ผ่านมาทำให้ได้พบว่า ในหลายพื้นที่ มีประเพณีที่เรียกกันว่า "เส็งกลอง" โดยเฉพาะ "กลองจิ่ง" มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นประเพณีของชุมชน มีเอกลักษณ์ มีคุณค่าทางสังคม จากข้อมูลดังกล่าว บุคลากรขอ
ิวทยาลัยชุมชนผูรับผิดชอบโครงการ (อ.มยุรา คำปาน) จึงได้จัดให้มีการศึกษา ถอดบทเรียน ในพื้นที่ต่างๆหลายพื้นที่ เพื่อเป็นการรวบรวม จัดระบบ พัฒนา เผยแพร่ และจะนำไปสู่การถ่ายทอดภูมิปัญญาเหล่านี้แก่คนทั่วไปต่อไป ซึ่งหมายถึงกระบวนการ "จัดการความรู้" ของชุมชน ผ่านกิจกรรมการจัดแข่งขันการเส็งกลองจิ่งในงานกาชาดและงานของดีของจังหวัดมุกดาหาร ในปี ๒๕๖๑
ในการจัดกิจกรรมการแข่งขันเส็งกลองจิ่งในครั้งนี้ มีหมู่บ้านที่เข้าร่วม รวมจำนวน ๗ ทีม ได้แก่
(๑) บ้านห้วยลำโมง ตำบลคำบก อำเภอคำชะอี
(๒) ตำบลบ้านซ่ง อำเภอคำชะอี (จำนวน ๔ หมู่บ้าน
(๓) บ้านนาม่วง ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล
(๔) บ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง
การจัดการแข่งขันก็ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ชุมชนเคยปฏิบัติกันมา เช่น เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน รูปแบบการแข่งขัน โดยกรรมการการแข่งขันประกอบด้วย คุณตาสุรจิตต์ จันทรสาขา ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร ตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมแข่งขัน และอาจารย์จากวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร
ผลจกาการแข่งขัน เป็นข้อค้นพบประการหนึ่งพบว่า
(๑) กลองจิ่ง เป็นทุนทางวัฒนธรรมของชนเผ่าจังหวัดมุกดาหาร ที่ไม่จำเพาะว่าเป็นชนเผ่าใดชนเผ่าหนึ่ง แต่เป็นวัฒนธรรมหรือทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในทุกชนเผ่าที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดมุกดาหารตั้งแต่อดีต
(๒) การเส็งกลองจิ่ง เป็นการแข่งขันของชุมชน เพื่อสะท้อนถึงการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติของคนในชุมชน
(๓) การเส็งกลอง เพื่อต้องการแสดงศักยภาพของคนในชุมชนของตนเอง
(๔) การเส็งกลอง มีการถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังอย่างต่อเนื่อง (ผู้เข้าแข่งขัน ส่วนหนึ่งเป๋นเยาวชนในชุมชน)
(๕) แกนนำชุมชนเป็นตัวแบบให้แก่คนรุ่นหลังได้ในการสืบสานวัฒนธรรม
(๖) หน่วยงาน/องค์กรส่วนที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องสร้างเวทีการแสดงให้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่องและบ่อยครั้ง
(๗) ควรมีการยกย่องเชิดชูวัฒนธรรมชุมชนที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ให้มีความเด่นชัดมากขึ้น
No comments:
Post a Comment