สิ่งที่ทั้งสองตำบลดำเนินการเหมือนกันคือ "ชักชวนคนในชุมชน" ทำบุญตักบาตร อัตตลักษณ์ที่คิดและออกแบบเช่นเดียวกัน คือ การใช้วัฒนธรรมชนเผ่าผู้ไท ลักษณะสำคัญคือการแต่งกาย ภาษา และวิถีชวิตดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง เป็นประเด็นนำสำหรับการดำเนินการกิจกรรม นอกจากนี้ ยังมีทุนหรือทรัพยากรอื่นๆที่ชุมชนมีมากมาย ทั้งที่เป็นทุนมนุษย์ ทุนทางธรรมชาติ บนความต้องการสำคัญประการหนึ่ง คือต้องการให้คนภายนอกได้รู้จัก เข้าใจ มองเห็นความงดงาม อันจะก่อให้เกิดการยอมรับ ชื่นชนในอนาคต
บ้านแวง ตำบลหนองสูงใต้ เป็นหมู้บ้านหนึ่งของตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง แกนนำชุมชน (สภาองค์กรชถมชน) เทศบาลตำบลหนองสูง ได้มีความพยายามดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาตำบลเพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของชุมชน ตามแนวทางที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง หลายครั้งได้ขอความร่วมมือจากบุคลากรวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ในฐานะสถาบันวิชาการ และวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้ให้การสนับสนุนภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และแกนนำชุมชน ร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น ได้พยายามดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยมีแนวทางสำคัญคือ การพัฒฯาทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๒-๓ ปี แต่สุดท้ายยังไม่สามารถได้คำตอบหรือชุมชนยังไม่สามารถตอบสนองหรือยอมรับว่า กิจกรรมที่ได้ดำเนินการประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
แนวคิดหลักของกิจกรรมคือ ทำกิจกรรมที่ไม่ต้องลงทุนเป็นเงิน แต่มีความสุข หวังว่าทุกคนจะมาร่วมงาน ด้วยบรรยากาศ ใช้วิธีการชวนคนใกล้ตัว ทำให้เป็นครอบครัคุณธรรม หวังให้เด็กเยาวชนได้เรียนรู้
"ที่ผ่านมาเราละเลยสิ่งดีงาม มุ่งแต่การก่อสร้าง มุ่งการสร้างรายได้ เราเสียงบประมาณไปมาก แต่ผลตอบแทนได้น้อยทั้งที่เป็นตัวเงินและคุณค่าทางใจที่เกิดขึ้น แต่กิจกรรมที่เราดำเนินการ ประชาชนในตำบลทุกคนพอใจ มีแต่คำชื่นชน ยกย่อง แล้วนับวันมีประชาชนมาร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นตลอดเวลา"
อีกตำบลหนึ่งที่ดำเนินการ คือ ตำบลคำชะอี บ้านคำชะอี เป็นตำบลที่ประชาชนในตำบลเป็นชนเผ่าผู้ไทเช่นเดียวกัน เป็นความพยายามของแกนนำที่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ อดีตข้าราชการ ที่เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของบ้านคำชะอี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนเอง วันหนึ่งก็เกิดเวทีการพูดคุยจากแกนนำบางส่วน ที่ต้องการดำเนินกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว หวังเพื่อแสดงให้คนภายนอกได้เห็นถึงภูมิปัญญาที่ตนเองมี ทั้งวิถีชีวิตความเป็นชนเผ่าผู้ไทย ทั้งการแต่งกายและภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยขอความร่วมมือจากวิทยาลัยชุมชน ร่วมให้คิดเห็นหรือนำเสนอบทเรียนที่ได้ดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ
กระบวนการที่วิทยาลัยชุมชนนำไปใช้ ยังคงใช้บทเรียนเดิมคือ การค้นหาทุนของชุมชนให้เจอ ขั้นตอนต่อไปคือการค้นหาแกนนำที่เป็นผู้ดำเนินการในเบื้องต้น แล้วขั้นตอนต่อไปคือ การให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับแกนนำเพื่อการปรับความคิดและเรียนรู้เพื่อการประยุกต็ใช้ วิทยาลัยชุมชนเข้าร่วมกับชุมชนภายใต้โครงการ "การจัดการความรู้เพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน(Project-based)" และสุดท้ายก็เกิดกิจกรรมเช่นเดียวกับตำบลหนองสูงใต้ ภายใต้ชื่อกิจกรรม "คำชะอี ฮุ่งเฮือง เมืองสามธรรม" ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย กระบวนการและวิธีการของภาคประชาชนจังหวัดมุกดาหาร "ยุทธศาสตร์ มุกดาหาร เมืองสามธรรม (ธรรมะ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม)"
ความเห็นจาก "ยายวง เมืองฮาม สมาชิกของชุมชนบ้านคำชะอี ตำบลคำชะอี จากการจัดกิจกรรมตักบาตร เมื่อันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา
...จุดประกายแล้ว คำชะอี ฮุ่งเฮือง เมือง ๓ ธรรม บอกได้คำเดียวว่า"เยี่ยมจริงๆ" พลังมวลชนล้นหลาม ต่างก็มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส อิ่มบุญ ทุกท่านคงเห็นวันนี้ไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ เพื่อนปิยะฯประสารมาให้ไปร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมแม่เพื่อนเสียที่นครพนม ก็อยากฝากประเด็นเกี่ยวกับจุดเล็กๆบางๆที่มองเห็นเพื่อพิจารณาในที่ประชุม ๑.ถนนสายธรรมในครั้งต่อไปอยากให้เป็นถนนปลอดรถทุกชนิด จะเก็บภาพได้สวยงาม รถรับของใส่บาตรพระ เสนอให้เป็นล้อที่มีโสบเกวียนส่วนรถยนต์ไปรอรับปลายทางหรือที่ประชุมเห็นสมควรค่ะ ๒.การตั้งโต๊ะเครื่องใส่บาตรด้านหน้าเป็นจุดๆไม่สวย ปูสื่อเป็นแนวแล้วนั่งใส่บาตรจะเป็นภาพที่สวยงามมาก และการนั่งไม่ควรขาดตอนเป็นหย่อมๆ ๓.การแต่งกายชุดภูไทบ้างเสื้อขาวบ้างหลากหลายเป็นหย่อมๆก็สวยดีแต่..อยากเสนออีกแนว ก.ใส่ชุดภูไทหรือเสื้อเย็บมือทั้งหมดสลับกับ ฃ.ใส่ชุดขาวทั้งหมดและสลับกับ ค.ผ้าไหมสวยงามเพราะคำชะอีเราขึ้นชื่อว่าผ้าไหมสวย ทั้งนี้แล้วแต่ที่ประชุมจะพิจารณานะค่ะ โอกาสต่อไปจะไม่พลาดการประชุมค่ะ..."
No comments:
Post a Comment