Friday, July 27, 2018

พัฒนาทักษะครูและทักษะการเรียนรู้นักเรียนประถมศึกษาโดยใช้บทเรียนบทออนไลน์


ความนำ
 สืบเนื่องจากนโยบายรัฐบาลในปัจจุบัน ได้มุ่งทิศทางในการพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยเฉพาะนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ด้านอุดมศึกษา ที่มุ่งเน้นความสำคัญของการส่งเสริมบทบาทให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ทั่วประเทศทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถานศึกษาในท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาท้องถิ่น ฉะนั้น การจะขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวเพื่อผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมจากปัจจุบันสู่อนาคต ทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมกันอย่างเป็นระบบและเดินหน้าการพัฒนาไปสู่เป้าหมายในการยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของแต่ละท้องถิ่น ทั่วประเทศให้เกิดการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้สถาบันอุดมศึกษานำนวัตกรรมทางการศึกษา ทรัพยากร ตลอดจนความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาการของบุคลากร และเทคโนโลยีจากสถาบันอุดมศึกษาไปช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา          ให้กับโรงเรียนที่เปิดสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ ทั้งการอ่านออกเขียนได้ การยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษ การจัดการเรียนการสอนสะเต็มในสถานศึกษา การคืนครูสู่ห้องเรียน เป็นต้น รวมทั้งการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบกิจกรรม การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย อาทิเช่น การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบการจัดการเรียน     การสอนสะเต็มในสถานศึกษา การเรียนรู้แบบ Problem-Based Learning (PBL) การจัดการเรียนรู้แบบชุมชนการเรียนรู้ (Professional Learning Communities : PLC) เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy) ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้ต่อไปในอนาคต จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าวเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาค 9 เครือข่าย เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ให้บรรลุผลในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จนเกิดผลการพัฒนาการศึกษา   ขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษาและเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีในอนาคต

วัตถุประสงค์โครงการ

 1. ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของโรงเรียนในท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยการบูรณาการการขับเคลื่อนองค์ความรู้ วิชาการ และความเชี่ยวชาญต่าง ๆ จากสถาบันอุดมศึกษานำไปสู่การปฏิบัติจริงในโรงเรียน เพื่อการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือขององค์กรต่างๆ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติให้มีคุณภาพ 
2. สร้างความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาค 9 เครือข่าย และศึกษาธิการจังหวัด ในการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่เหมาะสม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ  

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ในฐานะสถาบันอุดมศึกษา สมาชิกเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปีงบประมาณ 2561 โครงการพัฒนาทักษะครูและพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนออนไลน์ โดยมีโรงเรียนประถมศึกษา เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 โรงเรียน ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร รวม ๖ อำเภอ (ยกเว้นอำเภอดอนตาล) 


















No comments:

Post a Comment