Thursday, December 21, 2017

โรงเรียน "โฮมสุข" ผู้สูงอายุ ตำบลผึ่งแดดq

เวทีผู้สูงอายุตำบลผึ่งแดด จำนวน 13 หมู่บ้านเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ นำมาสู่การเตรียมการจัดตั้งและเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ ในนาม "โรงเรียน โฮมสุข ผู้สูงอายุ ตำบลผึ่งแดด" เป็นบทสรุปของการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุของตำบลผึ่งแดด ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการทำงานของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กิจกรรม การจัดการความรู้เพื่อการดูแลผูสูงอายุ


นับเป็นเวทีครั้งที่สามแล้วที่วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ร่วมกับเทศบาลตำบลผึ่งแดด แกนนำชุมชน และโดยเฉพาะบุคคลากรของเทศบาลตำบลผึ่งแดด ที่มีความมุ่งมั่นและความพยายามที่จะเกิดการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ให้เกิดขึ้นให้ได้

กระบวนการที่สำคัญคือ
๑. การสร้างความเข้าใจถึงเป้าหมายการดำเนินการระหว่างผู้เกี่ยวข้อง อันได้แก่ แกนนำผู้สูงอายุ บุคลากรของเทศบาล บุคลาการของวิทยาลัยชุมชน และภาคีที่เกี่ยวข้องที่สำคัญได้แก่ พมจ. รพ.สต. เป็นต้น เป็นกระบวนการสำคัญที่แต่ละภาคส่วนนำเสนอบทบาทหน้าที่และปัจจัยสนับสนุนแก่ชุมชน เพื่อร่วมเป็นพลังสนับสนุน โน้มน้าวให้กลุ่มเป้าหมาย(ผู้สูงอายุ) เห็นความสำคัญและตระหนักถึงความจำเป็น และสุดท้ายเป็นปัจจัยการตัดสินใจเพื่อร่วมดำเนินกิจกรรม


๒. ค้นหาแกนนำ ในการดำเนินการในแต่ละพื้นที่ สิ่งที่จำเป็นสูงสุด ที่นำมาซึ่งความยั่งยืน และการจัดการตนเอง เพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน คือ การค้นหาแกนนำ ที่จะเป็นกลไกเบื้องต้นเพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินการกิจกรรม แกนนำจะเป็นปัจจัยเบื้องต้น เป็นพลังตัวนำเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในพื้นที่ตำบลผึ่งแดด แกนนำคนสำคัญ แกนนำของกลุ่มเป้าหมาย(ผู้สูงอายุ) เป็นข้าราชการครูที่เกษียณอายุมาแล้ว แต่มีจิตอาสา อยากเห็นการพัฒนาเพื่อการดูแลผู้สุงอายุ (อาจารย์นริศรา มาลาดวง) นอกจากนั้น แต่ละหมู่บ้านทั้ง ๑๓ หมู่บ้าน ก็มีแกนนำในแต่ละหมู่บ้าน

๓. การค้นหาทุนที่มีคัณค่าของชุมชน/คุณค่าในตัวของผู้สูงอายุ เป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะมาซึ่งขอมูลที่ชุมชนมุกมองข้าม เพรานสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว จนไม่นึกว่าจะมีความสำคัญ เป็นขั้นตอนของการเรียนรู้ตนเองและชุมชนของตนเองในภาพที่กว้างขึ้น คือการได้รับทราบข้อมูลในระดับตำบล เพื่อนผู้ร่วมกิขกรรมจากบ้านอื่นๆ ก็จะเกิดมุมมองที่กว้างมากขึ้น จากการนำนพลังที่เด่นชัดมากขึ้น จนมำไปสู่การตระหนักถึงการรวมตัวกัน เป็นกระบวนการที่ผู้ดำเนินการจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้ชุมชน/กลุ่มเป้าหมายมีเวลาในการสะท้องออกม่ด้วยตัวเอง ไม่ชี้นำ แกนนำ/ผู้ร่วมดำเนินการ ทำหน้าที่เพียง "ผู้อำนวยความสะดวก" ที่จะก่อให้เกิดการออกความเห็นหรือการให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา


ผู้สูงอายุ ด้วยประสบการณ์ที่ชีวิตที่ผ่านมาอย่างยาวนาน แต่ละคนก็จะมีความรู้ทักษะสำหรับการดำเนินชีวิตอยู่แล้ว เป็นช่วงเวลาของการแสดงออกมาให้บุคคลได้รู้ ได้เห็นและรับรู้ ซึ่งจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ และเกิดการมีส่วนร่วมกับคนอื่นๆ และประการสำคัญ ในท้ายที่สุด แต่ละคนก็จะพบว่าตนเองก็มีความสำคัญสำหรับคนอื่นๆเพื่อการทำงานร่วมกันแบบมีส่วนร่วม



๔. การสร้างกลไกการทำงาน คือ การกำหนดเครื่องมือในการทำงาน กลไกเพื่อการขับเคลื่อนที่มีความชัดเจน และเกิดจาการการมีส่วนร่วม และความเห็นพ้องต้องกันของคนส่วยใหญ่




กลไกสำหรับการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ มีสิ่งที่จะต้องเป็นมติร่วมของผูสูงอายุ คือ การมีส่วนร่วมในการกำหนดการดำเนินการของโรงเรัยน ตั้งแต่การตั้งชื่อโรงรียน การคัดเลือก/แต่งตั้งผู้บริหาร (ผู้อำนวยการโรงเรัยน) การกำหนดเวลาเรียน สถานที่เรียน การแต่งกาย การกำหนดกิกจรรมการเรียน

มีข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่ง สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลผึ่งแดด โดนเฉพาะสถานที่เรียน ที่จะเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุ สำหรับทำกิจกรรมร่วมกันในแต่ละครั้ง มติที่ประชุมของผู้สูงอายุ เห็นพ้องต้องกันว่า จะใช้ "วัด" เป็นสถานที่เรียน และเป็นวัดของแต่ละหมู่บ้าน ในแต่ละครั้งก็จะหมุนเวียนกันไปตามหมู่บ้านของทุกหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุในแต่ละหมู่บ้าน และมีโอกาสที่จะได้เดินทางไปเยี่ยมหรือร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุในทุกๆหมู่บ้าน ซึ่งย่อมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างแน่นอน โดยมีเทศบาลตำบลผึ่งแดด จะเป๋นผู้จัดการและสนับสนุน


นับเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุล่าสุดของจังหวัดมุกดาหาร(๒๑ ะันวาคม ๒๕๖๐) ในชื่อ "โรงเรียนโฮมบุญผู้สูงอายุตำบลผึ่งแดด" ซึ่งจากชื่อที่ตั้ง บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์หลักและความสำคัญของกิขกรรมของผู้สูงอายุในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยมีเป้าหมายคือ คือ การทำบุญร่มกัยของผู้สูงอายุ และประชาชนในตำบลผึ่งแดด กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ถือว่า เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิด "บูญ" กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นการดำเนินกิจกรรมสำหรับบุคคลที่มีบุญคุณต่อทุกคน เป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณที่เป็นรูปธรรม และดำเนินการในนามของุชุมชน เป็นประโยชน์ของสาธารณะที่ควรค่าแก่การยกย่องชมเชย

Monday, December 18, 2017

เทศบาลหนองสูงใต้...คิดใหม่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตำบลหนองสูงใต้ เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ติดต่อกับเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ประชาชนส่วนใหย่ เป็นชนเผ่าผู้ไทย มีชีวิตที่เรียบง่าย สมถะ พึ่งตนเองมาอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะความเป็น "เมืองสามธรรม" ของยุทธศาสตร์ภาคประชาสังคมจังหวัดมุกดาหาร ไม่ว่าจะเป็นทุนทางด้าน "ธรรมะ" ทุนทางด้าน "วัมธรรม" และทุนทางด้าน "ธรรมชาติ" มีอย่างครบถ้วยตามวิถีชีวิตของชนเผ่าผู้ไทย ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มั่นคงและยางนาน
(รายละเอียดเพิ่มเติม)

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้มีส่วนร่วมกับเทศบาลตำบลหนองสูงใต้ มาตั้งแต่ ปี 2556 เป็นต้นมา โดยบุคลากรจากวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ทำหน้าที่เป็นวิทยากรเพื่อยกร่างยุทธสาตร์การพัฒนาตำบลหนองสูงใต้ และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในตำบลหนองสูงใต้ของแกนแกนนำชุมชน ที่มีความตั้งใจในการพัฒนาตำบลหนองสูงให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้มาอย่างต่อเนื่องตลอดมาภายใต้คำขวัญของตำบลที่ว่า...




                                                "หนองสูงใต้ถิ่นผู้ไทย                         ผ้าไหมมัดหมี่สวยล้ำ                                                 แหล่งธรรมบรรพตคีรี                เขมปัตตเจดีย์สง่างาม        

 ผาขามเขียวยางเดี่ยวเด่น            ธารใสเย็นห้วยค้อต่อกระเบียน                  แสงเทียนกระทงผ่องอำไพ           ร่วมใจสุขภาพดีที่หนองแวง ”




Tuesday, December 12, 2017

โรงเรียนผู้สูงอายุ...กลไกการดูแลผู้สูงอายุที่ชุมชนเป็นเจ้าของ

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สถาบันอุดมศึกษา สังกัดสถาบันวิทยาลัยชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถาบันการศึกษาที่มีรูปแบบแตกต่างจากสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาโดยทั่วไป คือ วิทยาลัยชุมชน เป็นของชุมชน จัดการโดยชุมชน และเพื่อชุมชนโดยแท้จริง  เพราะหลักสูตรที่ดำเนินการ ต้องมาจากความต้องการและปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง

ด้วยภารกิจและบทบาทหน้าที่จัดการศึกษาเพื่อชุมชน เป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสู่เป้าหมายสุดท้าย คือ การจัดการตนเองของชุมชนในทุกปัญหาและความต้องการ

ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสรัางความเข้มแข็งชุมชน ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร กิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง คือ การจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูอายุ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาทางสังคมของประเทศไทย คือ ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่วาจะเป็นเขตเมืองหรือชนบท ภาระดังกล่าว เป็นประเด็นปัญหาที่จะต้องกาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนร่วมมือการดำเนินการ โดยมีรูปแบบที่มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความเป็นไปได้ของพื้นที่ที่จะดำเนินการ (ภูมิสังคม)

การจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้ศุงอายุ ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เริ่มต้นด้วยการดำเนินกิจกรรม บนพื้นฐานของชื่อโครงการที่ว่า..."ฒ. ไม่เฒ่า" เป็นการสร้างกลไกเพื่อการจัดการปัญหาของผู้สูงอายุ ทั้งปัญหาทางด้านสุขภาพและด้านจอตใจของผู้สูงอายุ เป็นการให้ความสำคัญและแนวคิดด้านการพัฒนาที่สำคัญ คือ ทุกปัญหา ชุมชนสามารถดำเนินการ/จัดการเองได้ หากให้โอกาส และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง


การดำเนินงานพัฒนาชุมชน องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การสร้างกลไกเพื่อการดำเนินงานให้สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาได้ กลไกดังกล่าว ต้องเป็นกลไกของประชาชนเป็นหลัก บนพื้นฐานของข้อมูล ข้อเท็จริง ที่ชุมชนเป็นเจ้าของรับรู้ รับทราบและเข้าใจ กลไกดังกล่าว เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับหลักการทรงงานในหลวงรัชกาลที่ ๙ กล่าวคือ การดำเนินงานพัฒนาต้อง "ระเบิดจากข้างใน" ความหมายคือ การดำเนินกิจกรรมการพัฒนาชุมชน ต้องเกิดจากความต้องการและดำเนินการโดยคนในชุมชนเป็นสำคัญ ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ก็ยึดหลักดังกล่าว

ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของการดำเนินการเพื่อการพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาของสังคม เป็นปัญหาที่ที่เกิดจากตัวผู้สูงอายุเอง คือปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพกายใจของผู้สูงอายุ ที่นับวันจะมีมากขึ้น อันเนื่องมาจากสภาพร่างกายทีีทรุดโทรงตามกาลเวลาของอายุไขทีมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้สูงอายุ เป็นปัญหาทางสังคม ที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมแก้ไขปัญหา หรือร่วมดำเนินการ เพื่อบรรเทาภาระทางสังคม ที่นับวันจะมีมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่นๆของสังคมหรือชุมชน นั่นคือ ภาระการดูแล การเลี้ยงดู และปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น เพื่อการการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุเป็นระบบ จำเป็นต้องสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุ ให้มีความชัดเจน เพื่อการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ และควรจะเป็นระบบที่ดำเนินการโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นหลักการสำคัญ

(๑) ระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้สุงอายุ จำเป็นต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วยเพื่อการวางแผนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาวางแผนในการดูแลผู้สุงอายุได้ในทุกมิติ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลด้านสถานการณ์ของผู้สูงอายุด้านความพิการ เช่น จำนวนผู้สูงอายุที่มีความพิการด้านการมองเห็น การได้ยิน/การสื่อความหมาย ด้านการเคลื่อไหวร่างกาย/พฤติกรรม ความพิการด้านจิตใจ ความพิการด้านสติปัญญา เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติการด้านกายอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุในโอกาสต่อไป และจะบ่งชี้ไปยังหน่วยงาน/องค์กรที่รับผิดชอบได้อย่างชัดเจน เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ท้องถิ่น(อบต./เทศบาล) เป็นต้น
(๒) การจัดระบบบริการสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ จะมี ๒ ลักษณะสำคัญ คือ ดำเนินการโดยชุมชนเอง และดำเนินการโดยหน่วยบริการ ตัวอย่างกิจกรรมที่ดำเนินการโดยชุมชนเอง เช่น กลุ่มกิจกรรมด้านดนตรี/วัฒนธรรม(การแสดง การถ่ายทอดภูมิปัญญา) ชมรมผู้สูงอายุ/กลุ่มผู้สูงอายุ(การถ่ายทอด ภูมิปัญญาแก่เด็ก/เยาวชน การออกกำลังการ เข้าวัดฟังธรรม เพื่อนช่วยเพื่อน การพบละแลกเปลี่ยน)  กลุ่ม อผส.(อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ มีกิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น บริการออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ) และกิจกรรมบริการและส่งเสริมสุขภาพโดยหน่วยบริการ เช่น กลุ่มนวดแผนไทย กลุ่มสมุนไพร กลุ่ม อสม. รพ.สต.ในพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน เป็นต้น
(๓) ระบบส่งเสริมอาชีพและลดรายจ่าย เป็นการดำเนินกิจกรรม เพื่อที่จะให้ผู้สูงอายุมีรายได้ หรือการลดรายจ่าย สำหรับตนเองและครอบครัว กิจกรรมที่พบเห็นในชุมชนบ่อยๆ ได้แก่ กลุ่ทอาชีพด้านต่างๆ  กลุ่มกิจกรรมด้านอาชีพ จะมีแหล่งทุนที่มีอยู่แล้วในชุมชน แหล่งทุนต่างๆในชุมชนได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน (การลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ) สถาบันการเงินของชุนเอง (แหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต(การออมและการกู้ยืมเพื่อการลงทุน) โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(สนับสนุนเงินทุนสำหรับยืมไปประกอบอาชีพโดยไม่มีดอกเบี้ย) กลุ่มการเงินขนาดเล็ก (ให้กู้เงินเพื่อใช้เป็นทุนแก่สมาชิก) สำหรับกิจกรรมเพื่อการลดรายจ่าย เช่น ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร การจัดทำบัญชีครัวเรือน เป็นต้น

(๔) ระบบการจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งจะมีทั้งกิจกรรมที่เป็นของชุมชนและหน่วยงาน/องค์กร เช่น อบต./เทศบาบ(บริการเบี้ยยังชีพ พัฒนาระบบข้อมูลผู้สูงอายุ กำหนดพื้นที่การให้บริการผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง) กลุ่มฌาปานกิจสงเคราะห์ (ช่วยเหลือการจัดการศพ)   
(๕) ระบบการปรับสภาพแวดล้อม  ในชุมชนทุกชุมชน มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวนมากกว่า ๑๐ คน(จำนวนขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรและจำนวนหลังคาเรือนในหมู่บ้าน จะเป็นผู้ดูแลกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุท่อยู่ในสภาพติดเตียง ติดบ้านหรือติดสังคมและโดยเฉพาะเข้าไปดูแลและดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ บทบาทขององค์กรชุมชน/คณะกรรมการหมู่บ้าน ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทราบถึงงานและกิจกรรมในพื้นที่ นอกจากนั้นอาจมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุรภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุ โดยทำหน้าที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการพัฒนาอาชีพและการถ่ายทอดภูมิปัญญา และดำเนินกิจกรรมอ่นๆที่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ

ดังนั้นการดำเนินการจัดตั้งกลไกเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ผ่านกระบวนการจัดตั้ง"โรงเรียน" หรือองค์กรที่อื่นๆอื่นๆ ตามที่ชุมชนร่วมกันดำเนินการ โดยมีวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน โดยเฉพาะด้านวิชาการ ย่อมเป็นการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ที่กำลังเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญต่อการดำเนินงานของภาคีการพัฒนาหลายๆส่วนที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่อย่างไร ประเด็นสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุ หน่วยงาน/องค์กรที่มีความสำคัญสูงสุดคือ "องค์กรปกครองท้องถิ่น" ที่มีภาระหน้าที่โดยตรง โดยมีหน่วยงานต่างๆ ให้การสนับสนุนอย่างบูรณาการ


Thursday, December 7, 2017

ต้นทุนทางวัฒนธรรม...ทรัพยากรการพัฒนาต้นทุนต่ำแต่มีคุณค่าสูงสุด

มีบทสรุปและเป็นบทเรียนที่วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ร่วมดำเนินการกับชุมชนอย่างน้อย ๒ ชุมชน ในฐานะสถาบันการศึกษา ที่มีส่วนในการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการดำเนินการผ่านโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (Project-based) พื้นที่ที่กล่าวถึง คือ บ้านคำชะอี ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี และบ้านแวง ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง
สิ่งที่ทั้งสองตำบลดำเนินการเหมือนกันคือ "ชักชวนคนในชุมชน" ทำบุญตักบาตร อัตตลักษณ์ที่คิดและออกแบบเช่นเดียวกัน คือ การใช้วัฒนธรรมชนเผ่าผู้ไท ลักษณะสำคัญคือการแต่งกาย ภาษา และวิถีชวิตดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง เป็นประเด็นนำสำหรับการดำเนินการกิจกรรม นอกจากนี้ ยังมีทุนหรือทรัพยากรอื่นๆที่ชุมชนมีมากมาย ทั้งที่เป็นทุนมนุษย์ ทุนทางธรรมชาติ บนความต้องการสำคัญประการหนึ่ง คือต้องการให้คนภายนอกได้รู้จัก เข้าใจ มองเห็นความงดงาม อันจะก่อให้เกิดการยอมรับ ชื่นชนในอนาคต บ้านแวง ตำบลหนองสูงใต้ เป็นหมู้บ้านหนึ่งของตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง แกนนำชุมชน (สภาองค์กรชถมชน) เทศบาลตำบลหนองสูง ได้มีความพยายามดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาตำบลเพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของชุมชน ตามแนวทางที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง หลายครั้งได้ขอความร่วมมือจากบุคลากรวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ในฐานะสถาบันวิชาการ และวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้ให้การสนับสนุนภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และแกนนำชุมชน ร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น ได้พยายามดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยมีแนวทางสำคัญคือ การพัฒฯาทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๒-๓ ปี แต่สุดท้ายยังไม่สามารถได้คำตอบหรือชุมชนยังไม่สามารถตอบสนองหรือยอมรับว่า กิจกรรมที่ได้ดำเนินการประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย




แนวคิดหลักของกิจกรรมคือ ทำกิจกรรมที่ไม่ต้องลงทุนเป็นเงิน แต่มีความสุข หวังว่าทุกคนจะมาร่วมงาน ด้วยบรรยากาศ ใช้วิธีการชวนคนใกล้ตัว ทำให้เป็นครอบครัคุณธรรม หวังให้เด็กเยาวชนได้เรียนรู้ "ที่ผ่านมาเราละเลยสิ่งดีงาม มุ่งแต่การก่อสร้าง มุ่งการสร้างรายได้ เราเสียงบประมาณไปมาก แต่ผลตอบแทนได้น้อยทั้งที่เป็นตัวเงินและคุณค่าทางใจที่เกิดขึ้น แต่กิจกรรมที่เราดำเนินการ ประชาชนในตำบลทุกคนพอใจ มีแต่คำชื่นชน ยกย่อง แล้วนับวันมีประชาชนมาร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นตลอดเวลา"
อีกตำบลหนึ่งที่ดำเนินการ คือ ตำบลคำชะอี บ้านคำชะอี เป็นตำบลที่ประชาชนในตำบลเป็นชนเผ่าผู้ไทเช่นเดียวกัน เป็นความพยายามของแกนนำที่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ อดีตข้าราชการ ที่เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของบ้านคำชะอี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนเอง วันหนึ่งก็เกิดเวทีการพูดคุยจากแกนนำบางส่วน ที่ต้องการดำเนินกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว หวังเพื่อแสดงให้คนภายนอกได้เห็นถึงภูมิปัญญาที่ตนเองมี ทั้งวิถีชีวิตความเป็นชนเผ่าผู้ไทย ทั้งการแต่งกายและภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยขอความร่วมมือจากวิทยาลัยชุมชน ร่วมให้คิดเห็นหรือนำเสนอบทเรียนที่ได้ดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ
กระบวนการที่วิทยาลัยชุมชนนำไปใช้ ยังคงใช้บทเรียนเดิมคือ การค้นหาทุนของชุมชนให้เจอ ขั้นตอนต่อไปคือการค้นหาแกนนำที่เป็นผู้ดำเนินการในเบื้องต้น แล้วขั้นตอนต่อไปคือ การให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับแกนนำเพื่อการปรับความคิดและเรียนรู้เพื่อการประยุกต็ใช้ วิทยาลัยชุมชนเข้าร่วมกับชุมชนภายใต้โครงการ "การจัดการความรู้เพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน(Project-based)" และสุดท้ายก็เกิดกิจกรรมเช่นเดียวกับตำบลหนองสูงใต้ ภายใต้ชื่อกิจกรรม "คำชะอี ฮุ่งเฮือง เมืองสามธรรม" ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย กระบวนการและวิธีการของภาคประชาชนจังหวัดมุกดาหาร "ยุทธศาสตร์ มุกดาหาร เมืองสามธรรม (ธรรมะ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม)"
ความเห็นจาก "ยายวง เมืองฮาม สมาชิกของชุมชนบ้านคำชะอี ตำบลคำชะอี จากการจัดกิจกรรมตักบาตร เมื่อันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา
...จุดประกายแล้ว คำชะอี ฮุ่งเฮือง เมือง ๓ ธรรม บอกได้คำเดียวว่า"เยี่ยมจริงๆ" พลังมวลชนล้นหลาม ต่างก็มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส อิ่มบุญ ทุกท่านคงเห็นวันนี้ไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ เพื่อนปิยะฯประสารมาให้ไปร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมแม่เพื่อนเสียที่นครพนม ก็อยากฝากประเด็นเกี่ยวกับจุดเล็กๆบางๆที่มองเห็นเพื่อพิจารณาในที่ประชุม ๑.ถนนสายธรรมในครั้งต่อไปอยากให้เป็นถนนปลอดรถทุกชนิด จะเก็บภาพได้สวยงาม รถรับของใส่บาตรพระ เสนอให้เป็นล้อที่มีโสบเกวียนส่วนรถยนต์ไปรอรับปลายทางหรือที่ประชุมเห็นสมควรค่ะ ๒.การตั้งโต๊ะเครื่องใส่บาตรด้านหน้าเป็นจุดๆไม่สวย ปูสื่อเป็นแนวแล้วนั่งใส่บาตรจะเป็นภาพที่สวยงามมาก และการนั่งไม่ควรขาดตอนเป็นหย่อมๆ ๓.การแต่งกายชุดภูไทบ้างเสื้อขาวบ้างหลากหลายเป็นหย่อมๆก็สวยดีแต่..อยากเสนออีกแนว ก.ใส่ชุดภูไทหรือเสื้อเย็บมือทั้งหมดสลับกับ ฃ.ใส่ชุดขาวทั้งหมดและสลับกับ ค.ผ้าไหมสวยงามเพราะคำชะอีเราขึ้นชื่อว่าผ้าไหมสวย ทั้งนี้แล้วแต่ที่ประชุมจะพิจารณานะค่ะ โอกาสต่อไปจะไม่พลาดการประชุมค่ะ..."





แนวคิดกลุ่มนักอุตสาหกรรมรุ่นใหม่มุกดาหาร

ด้วยพลังของคนรุ่นใหม่ ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจจากทักษะ ประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้ในหลากหลายพื้นที่ บนโลกใบนี้ จึงอยากนำทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ที่มีมาใช้เพื่อการพัฒนาอนาคตของคนมุกดาหาร และประชาชนชาวมุกดาหาร และนี่คือความคิด ที่ต้องการนำเสนอต่อทุกๆคนที่มีความสนใจ









อ่านแล้ว ลองหาข้อสรุปบนพื้นฐานของความใจกว้างและปราศจากอคติดๆ ย่อมมองเห็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

ต้นทุนเพื่อการพัฒนาตำบลผึ่งแดด (ด้านการสืบสานศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น)

กิจกรรมเริ่มต้นสำหรับการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุตำบลผึ่งแดดการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมสำคัญกิจกรรมหนหนึ่งของวิทยาลัยชุมชน ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน "ตำบลผึ่งแดด เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองมุกดาหาร จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และศักยภาพของเทศบาลตำบลผึ่งแดด จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) เทศบาลไว้ ๓ ประเด็น คือ การบริหารจัดการที่ดีให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และ การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป"

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้กำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเน้นประเด็นการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ และได้เริ่มศึกษาบริบทของชุมชนก่อนการดำเนินงานโครงการตามกระบวนการ/ขั้นตอนที่กำหนดไว้ กรอบแนวคิดด้านการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรม เป็นการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ผ่านการอนุรกษ์ ฟื้นฟู สืบทอด พัฒนามรดกทางวัฒนธรรม ทั้งทางด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างจิตสำนึกรัก หวงแหน และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยว เป็นการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดวให้คงอยู่สืบไป
ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเป้าหมายและมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาต่างๆ ที่เป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญที่สุด โดยเฉพาะความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ และโครงการพัฒนาบุคคลตามช่วงวัย ผู้สูงอายุ จึงได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในทุกๆด้าน ซึ่งบทเรียนของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ที่ได้ดำเนินการผ่านมา คือ การสร้างกลไกทางสังคมเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ในลักษณะของการจัดตั้ง "โรงเรียนผู้สูงอายุ" "วิทยาลัย ฒ ผู้เฒ่า" เป็นต้น นับเป็นบทเรียนที่สำคัญ ต่อการดำเนินงาน ทำให้เห็นข้อจำกัด แบะแนวทางที่เหมาะ จากบทเรียนของการทำงานกับชุมชนในเรื่อง "ผู้สูงอายุ" พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุ มีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ โดยสภาพร่างกายจำเป็นต้องอาศัยผู้อื่นที่จะต้องเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุน โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้กำลังทางกาย แต่ผู้สูงอายุ คือ กลุ่มบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์อย่างเหลือล้น สามารถที่จะนำเอาความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้สูงอายุ มาจัดกาให้เกิดพลัง สร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่าอย่างดี ซึ่งจำเป็นต้องมีผู้ช่วยเหลือ ทั้งนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายอื่นๆที่อยู่ใกล้ชิด เป็นต้นว่า กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน กลุ่มแกนนำหรือผู้นำชุมชน ที่มีความพร้อม
ทุนทางสังคม (Social Capital) มีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยิ่ง ดังนั้น การใช้ทุนที่มีอยู่เพื่อการพัฒนาชุมชนนั้น ย่อมก็ให่เกิดความประหยัด ไม่เกิดความรู้แปลกแยกของคนในชุมชนจากทุนจากภายนอกที่ถุกนำเข้ามา ที่ไม่มีความคุ้นเคย (อาจเกิดการปฏิเสธจากคนในชุมชนได้) แต่ถ้าเป็นทุนภายในชุมชนเองก็จะเกิดความภาคภูมิในสิ่งที่มีคุณค่าที่ประชาชนส่วนใหญไม่เคยรู้จักมาก่อน การ้รหาทุนในชุมชนจึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรกที่นักพัฒนาควรศึกษาให้เข้าใจ เก็บรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้


















เครื่องมือศึกษาบริบทชุมชนสำหรับนักพัฒนา

นักพัฒนาจำเป็นต้องมีและสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการทำงานกับชุมชน


เครื่องมือที่จะนำไปใช้ในการจัดทำ Project Based ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร กระบวนการแรกคือ ขั้นการศึกษาชุมชน ประกอบด้วย ๗ อย่าง ได้แก่ (๑) แผนที่เดินดิน
(๒) ผังเครือญาติ (๓) โครงสร้างองค์กรชุมชน (๔) ระบบสุขภาพชุมชน (๕) ปฏิทินชุมชน (๖) ประวัติศาสตร์ชุมชน (๗) ประวัติชีวิตบุคคลที่น่าสนใจ เครื่องมือในการศึกษาชุมชนเหล่านี้ พัฒนามาจากเครื่องมือของนักมานุษยวิทยา ที่ใช้ในการศึกษาชุมชนเชิงลึก แต่ปรับประยุกต์ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์และวิธีการดังต่อไปนี้ แผนที่เดินดิน ๑. เป้าหมายสำคัญของเครื่องมือ (๑) ทำให้เห็นภาพรวมของชุมชนครบถ้วนที่สุด (๒) ทำให้ได้ข้อมูลมากในระยะสั้นที่สุด (๓) ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือที่สุด เพราะได้จากการสังเกตด้วยตนเอง
๒. วิธีการทำแผนที่เดินดิน ในการทำแผนที่เดินนั้น ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การเขียนแผนที่ทางกายภาพให้สมบูรณ์ครบ ถ้วนลงบนแผ่นกระดาษ แต่สำคัญที่การได้ไปดูให้เห็น และเข้าใจถึงความหมายและ "หน้าที่ทางสังคม" ของพื้นที่ทางกายภาพเหล่านั้น การเข้าใจความหมายทางสังคมของลักษณะทางกายภาพนี้
คำแนะนำ (๑) ไม่นั่งรถทำแผนที่ ควรลงเดินด้วยเท้า (๒) อาจนำแผนที่เก่ามาใช้ เพื่อตรวจสอบรายละเอียด (๓) ในกรณีทีมงานมีหลายคน ไม่ควคแยกกันเขียน แล้วมาต่อรวมกัน ควรเดินสำรวจร่วมกัน (๔) ต้องสังเกตุและพูดคุยแลกเปลี่ยน (๕) อาจนำผู้นำในชุมชนมาร่วมเดินสำรวจด้วย (๖) เขียนข้อสังเกตที่พบ(จากการพูดคัย/แลกเปลี่ยน)
ผังเครือญาติ
เป้าหมายสำคัญของเครื่องมือ (๑) เข้าใจโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือญษติ อันเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นรากฐานของครอบครัวและชุมชน (๒) รู็จักตัวบุคคลและความสัมพันธ์ทางสังคมในระยเวลาอันสั้น (๓) ชาวนสร้างความสัมพันธ์อันดีและความสนิท คุ้นเคยระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้านได้อย่างรวดเร็ว
วิธีทำผังเครือญาติ สิ่งที่ต้องเรียนรู้ คือสัญลักษณ์มาตรฐานที่ใช้เป็นอย่างไร เนื่องจากเวลาเราทำผังเครือญาติแล้ว นำไปใส่ในระบบข้อมูล ทุกคนในระบบงานควรต้องอ่านสัญลักษณ์เหล่านี้ได้เหมือนกัน เข้าใจตรงกัน และสามารถเพิ่มเติมข้อมูลโดยใช้สัญลักษณ์มาตรฐานเหล่านี้ได้
โครงสร้างองค์กรชุมชน การศึกษาโครวสร้างองค์กรชุมชน ก็คือ การทำความเข้าใจกับระบบความสัมพันธ์ต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน แนวทางการศึกษาโครงสร้างองค์กรชุมชน อาจแบ่งออกเป็นสองขั้นตอนอคือ การทำความเข้าใจแบบแผนความสัมพันธ์ขององค์กรชุมชน และการจัดทำผังโครงสร้างองค์กรชุมชน โดยจะต้องทำความเข้าใจแบบแผนความสัมพันธ์ในชุมชนก่อนแล้วจึงนำมาเขียนเป็นโครงสร้างองค์กรชุมชน
การศึกษาแบบแผนความสัมพันธ์ขององค์กรชุมชน (๑) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ (๒) ความสัมพันธ์ทางสังคม (๓) ความสัมพันธ์ทางการเมือง
ระบบสุขภาพชุมชน เป้าหมายสำคัญของเครื่องมือ (๑) เพื่อให้เห็นระบบการแพทย์ที่หลากหลายในชุมชน (๒) สามารถเลือกระบบการแพทย์ที่มีความหลากหลายในชุมชนมาประยุกต์ใช้กับงานบริการด้านสาธารณสุขได้ ผู้อ่านสามารถศึกษารายละเอียดเรื่องเครื่องมือ ๗ ชิ้นของคุณหมดโกมาตร ตาม Linked ต่อไปนี้ http://www.prachasan.com/elearning/ComWayKomart.pdf