Thursday, January 11, 2018

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร กับบทบาทการเป็นหน่วยจัดการย่อยร่วมกับ สสส. ในระดับพื้นที่ (NODE)

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สถาบันอุดมศึกษาเพื่อชุมชน ได้มีความพยายามที่จะดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของสถาบันการศึกษา ที่ทำหน้าที่ใกล้ชิดกับชุมชนให้มากที่สุด เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน กระกระบวนการการทำหน้าที่ ประสาน เชื่อมโยงให้เกิดการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนไปสู่ชุมชน

การทำหน้าที่เป็น "หน่วยจัดการร่วม สสส.จังหวัดมุกดาหาร" ของวิทยาลัยุมชนมุกดาหาร ได้ดำเนินการตามแนวทางที่ สสส. กำหนด จากการประกาศรับสมัครการสนับสนุนทุนโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็กของสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สำนักกอลทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงาน/องค์กรของชุมชนต่างๆ ได้รับการสนับสนุนทุนเพื่อดำเนินการ ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก จำนวน ๓๐ พื้นที่ กิจกรรม ๖ เมนู ได้แก่

    (๑) โครงการลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญ งานประเพณี (จุดเน้น เพื่อให้ชุมชนเกิดข้อตกลงร่วมในการกำหนดประเภทงานบุญ งานประเพณีปลอดแอลกอฮอล์)
    (๒) โครงการ การจัดการขยะ (จุดเน้น ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ)
    (๓) โครงการส่งเสริมการบริโภค ผัก ผลไม้เพื่อสุขภาพในโรงเรียน (จุดเน้น แม่ครัวมีการปรับพฤติกรรมโดยการปรุงอาหารกลางวันตามรายการที่มีการกำหนดไว้ทุกมื้อ)
    (๔) โครงการ การผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน (จุดเน้น ครัวเรือนมรการปลูกผักเพื่อบริโภคโดยไม่ใช้สารเคมี)
   (๕) โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน (จุดเน้น การสนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนมีศักยภาพและคามเข้มแข็ง ในการเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทสนัสนุนการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ)
   (๖) โครงการ การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน (จุดเน้น กระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขจุดเสี่ยงของสมาชิกในชุมชน และปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงที่ชุมชนจะแก้ไข)

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ทำหน้าที่ NODE โดยบทบาทที่ำคัญ คือ การเชิญชนพื้นที่ต่างๆเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจาก สสส. การกำกับดูแล สนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ การติดตาม รายงานผลการดำเนินงาน หรือกล่าว่า ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานโครงการขนาดเล็ก ที่จะขอรับการสนัสนุนจาก สสส. ตามแนวทางที่ สสส. กำหนด ตลอดจนกรพัฒนาศักยภาพพื้นที่ที่เข้าร่มโครงการ การสร้างทีมและเครือข่ายการทำงานของภาคีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจังหวัดมุกดาหาร ที่พื้นที่/ชุมชนต่างๆ ที่ได้ขอรับทุนจาก สสส. มีจำนวน ๓๐ พื้นที่ ในทุกอำเภอ และทุกเมนู

บทาทที่สำคัญ ในฐานะ NODE ที่วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ต้องดำเนินการ คือ
    (๑) การค้นหาภาคีรายย่อยขยายแนวร่วมการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ
    (๒) การพัฒนาข้อเสนอโครงการ
    (๓) การพัฒนาศักยภาพภาคีที่ได้รับทุนให้สามารถบริหารจัดการโครงการและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผนและเป้าหมายที่กำหนดไว้
    (๔) การติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการ
    (๕) การถอดบทเรียนการดำเนินงาน
    (๖) การประชุมคณะทำงาน

ในช่วงวันที่ ๑๐-๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ในฐานะ NODE จังหวัดมุกดาหาร ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการแต่ละโครงการ ทั้ง ๓๐ พื้นที่ ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญ คือ การออกแบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัด การสะท้องผลลัพธ์โครงการ ทั้ง ๓๐ พื้นที่ โดยได้เชิญคณะทำงาน/ตัวแทนแต่ละพื้นที่ เข้ามาร่วมนำเสนอ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เป็นเวลา ๒ วัน

การออกแบบวงสะท้อนผลลัพธ์ ที่ได้ดำเนินการ มุ่งหวังที่จะให้มีการสังเคราะห์ผลลัพธ์โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงก่อน-หลัง แล้ว มีการคืนข้อมูลเป็นระยะๆหรือการจัดประชุมเพื่อสะท้อนผลลัพธ์เพื่อให้รู้ว่าควรจะปรับแผนหรือเดินหน้าอย่างไร ดังนั้น การดำเนินการในครั้งนี้ มีหลักการที่ดำเนินการ คือ
(๑) คุยเรื่องผลลัพธ์เป็นหลัก
(๒) ใช้ข้อมูลยืนยัน
(๓) ทำอย่างมีส่วนร่วม
(๔) ทำให้เป็นการเรียนรู้
(๕) ทำหลายรอบ

การดำเนินงานโครงการ ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย
(๑) กิจกรรมตามโครงการ
(๒) ผลลัพธ์
(๓) ตัวชี้วัด
ทั้งสามอย่าง เป็นกรอบการดำเนินงานที่มีความสัมพันธ์กันและกำหนดไว้อย่างชัดเจน สามารถเป็นกรอบการดำเนินงานได้อย่างสะดวก ทั้งคณะทำงาน และใช้ในการติดตาม รายงานผลการดำเนินงาน

บทาทของหน่วยจัดการ "การสะท้องผล"(วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร) เป็นการสะท้องผลระดับโครงการย่อย และระดับหน่วยจัดการ ซึ่งต้องเตรียมการดังนี้
(๑) ศึกษาผลลัพธ์ที่ต้องการจาก "บันไดผลลัพธ์"
(๒) เตรียมทีม/ประเมินความเข้าใจของทีม
(๓) ซักซ้อม/ทำความเข้าใจโจทย์ผลลัพธ์
(๔) วางแผนลงพื้นที่ (แผนเก็บข้อมูล)
(๕) ติดตาม/ให้คำปรึกษา
(๖) สรุปบทเรียน

ในช่วงเวลา ๒ วันของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนรู้พื้นที่ต่างๆที่ดำเนินการโครงการย่อย พบประเด็นที่น่าสนใจในการดำเนินงานโครงการ ...
(๑) แกนนำที่มีความสามารถในการนำเสนอ/มีจิตอาสา/แนวคิดใหม่ในการพัฒนา
(๒) รูปแบบการดำเนินการที่หลากหลาย(นอกเหนือจากการกำหนดไว้ในโครงการ)
(๓) เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่เฉพาะประเด็นของโครงการย่อย มีประเด็นที่เป็นความสนใจร่วม
(๔) เกิดกิจกรรมการขยายผลมากกว่าที่กำหนดไว้ใน "ันได้ผลลัพธ์" ตัวอย่างรูป การขยายผลสู่การสร้างรายได้ที่มากขึ้น การขยายเครือข่ายการดำเนินงานในระดับชุมชน เป็นต้น
(๕) การปรับทิศทางการขยายผลในอนาคต
(๖) มีต้นแบบการพัฒนาที่สามารถเป็นตัวอย่าง/ข้อสรุปในการดำเนินกิจกรรมการขยายผลในอนาคต

วิทยาลัยชุมชน ในฐานะ NODE ที่ได้ทำหน้าที่ตามบทบาท และข้อมูลที่เกิดจากเวทีแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ ก่อให้แนวคิดในอนาคต ได้หลายประการ ได้แก่
(๑) การพัฒนาและการขยายเครือข่ายในแต่ละประเด็น ให้กว้างมากขึ้น ในการลักษระของการทำงานเชิงบูรณาการในอนาคต
(๒) การสร้างความยั่งยืนของแต่ละเมนู จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายการดำเนินงานในแต่ละประเด็น
(๓) การเปิดเวทีเพื่อการแลกเปลี่ยนที่มีความหลากหลายมากขึ้น

การทำหน้าที่ของวิทยาลัยชุมชนในฐานะสถาบันการศึกษาดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ภายใต้การเป็นหน่วยจัดการร่วม สสส.จังหวัดมุกดาหาร สะท้องบทบาทที่เป็นจริงของการเป็น "แหล่งวิชการเพื่อชุมชน" ที่ประโยชน์โดยตรงต่อชุมชน

No comments:

Post a Comment