Saturday, July 28, 2018

ฝ้ายงามครามมุก...อัตลักษณ์ผ้าฝ้ายทอมือมุกดาหาร

ดร. ร.ต.อ. อนุชา แพ่งเกษร  อาจารย์จากคณะมัณฑศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ร่วมกันจัดเวทีเพื่อกำหนดอัตลักษณ์ผ้าฝ้ายทอมือของจังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ณ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร



วัตถุประสงค์สำคัญของการดำเนินการในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้ดำเนินการโครงการจัดการความรู้ผ้าทอมือมุกดาหารมาระยะเวลาหลายปีแล้ว สิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เป็นการค้นหาภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผ้าทอต่างๆ เช่น ชนิดฝ่ายที่ใช้ ลายที่ทอในผืนผ้า บุคคลที่มีความชำนาญ(ภูมิปัญญา) เป็นต้น จนกระทั่งพบว่า ผ้าทอมือในจังหวัดมุกดาหาร มีการทำในหลายหมู่บ้าน มีความหลากหลายทั้งประเภท ลาย รูปแบบการทอ ทักษะความสามารถของคนทอ ทั้งหมดกระจายอยู่ในทุกชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในจังหวัดมุกดาหาร แต่ประเด็นสำคัญคือ ยังไม่สามารถบอกได้ว่า ผ้ามือเมื่อมุกดาหาร เอกลักษณ์คืออะไร ทั้งผู้ผลิตก็ทำตามที่ตนเคยทำมาด้วยความชำนาญ หรือการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษของตนเอง ผู้ใช้ก็ยังไม่มีคำตอบว่า ถ้าต้องการผ้าทอมือมุกที่ดีมีคุณค่า มีมาตรฐาน และเป็นเอกลักษณ์ที่บ่องบอกถึงจังหวัดมุกดาหาร คือผ้าอะไร ซื้อได้จากที่ไหน จึงเป็นที่มาของการหาคำตอบโดยวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร โดยหาเรียนเชิญอาจารย์อนุชา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ครั้งหนึ่งอาจารย์ได้มาร่วมกับวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เรื่องผ้าย้อมคราม ในพื้นที่ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง เมื่อหลายปีมาแล้ว


กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเวทีในวันนี้ ประกอด้วย กลุ่มผ้าย้อมคราม คุณยายเขียว จาก บ้านเหล่าคราม กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านคำนางโอก ตำบลร่มเกล้า เป็นกลุ่มที่วิทยาลัยชุมชน ดำเนินการโครงการจัดการความรู้ผ้าฝายทอมือ มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ ชื่อลายดอกสา จนเป็นที่รู้จักของชุมชน ในช่วงปีงบประมาณ 2560-2561 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผ้าทอมือบ้านโพนไฮ ตำบลหนองแคน อำเภอดงหลวง กลุ่มครามบุญ (KRAMBOON) 


กระบวนการที่ใช้ เป็น FLATEFORM ที่อาจารย์อนุชาได้แนำนำและนำมาใช้เพื่อการกำหนด ริเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ SWOT ของตัวผลิตภัณฑ์ (ผ้า) ในมิติของ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการศึกษาถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการศึกษา โดยกลุ่มที่ทำกิจกรรมจะร่วมกันวิเคราะห์ด้วยกัน โดยมี MODERATOR ทำหน้าที่กระตุ้น /ซักถาม เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในทุกๆมิติ 

ขั้นตอนต่อไป เป็นการนำจุดแข็ง/โอกาส และจุดออน/อุปสรรค มา plot ลงใน template ที่จะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่เป็น จุดแข็งและ โอกาส โดยจำแนกออกเป็น 3 มิติ คือ มิติด้านเศรษกิจ ด้านสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม อีกส่วนหนึงคือผลการวิเคราะห์ั้เป็นจุดอ่อน และอุปสรรค โดยจำแนกเป็น 3 มิติเช่นเดิม โดยกำหนดในแต่ละมิติที่ตรงกัน (ดังรูป) นำมาเปรียบเทียบหรือวิเคราะห์ร่วมกันในเวทีใหญ่ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง และมองภาพใหญ่ร่วมกัน หลักการของนักออกแบบ จะให้ความสำคัญกับจุดอ่อน/อุปสรรคของผลิตภัณฑ์ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนา โดยเฉพาะประเด็นของ "อัตลักษณ์" (IDENTITY)


คำถามที่สำคัญสำหรับในการสอเคราะห์ร่วมกันในเวทีใหญ่ แต่ละกลุ่มต้องมีข้อสรุปให้ชัดเจนว่า อัตลักษณ์ของตนเองคืออะไร อาจกำหนดเพียงสามคำหรือประโยคใดที่มีความชัดเจน และสะท้อนให้เห็นถึงจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ของตัวเองอย่างแท้จริง ตัวอย่างจาการจัดเวทีในครั้งนี้ เวทีร่วมกันสรุปผ้าทอมือของจังหวัดมุกดาหาร ออกมาเป็น "ฝ้ายงามครามมุก" โดยมีความหมายที่จะต้องดำเนินการสร้างความเข้้าใจร่วมกันคือ "ฝ้าย" "งาม" "คราม" และ "มุก" คืออะไร 

ขั้นตอนต่อไปนี้ การสร้างความเข้าร่วมในทุกภาคส่วนถึงอัตลักษณ์ ที่จะร่วมกันสร้างต่อไปอย่างเนื่องด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน
           





  



1 comment:

  1. ยอดเยี่ยมครับ หวังเป็นอย่างยิ่งจะเป็นประโยขน์ต่อมุกดาหารและประเทศชาติ

    ReplyDelete